Print
Category: Knowledge
Hits: 2303

          ชุบโครเมี่ยมล้อกันเถอะ การเคลือบล้อด้วยวีธีการพ่นแล็คเกอร์ดังที่ผมได้ลงไว้ในครั้งก่อนก็เป็น เพียงวิธีหนึ่ง ในการรักษาความแวววาวของการปัดเงาให้อยู่คงทน แต่การปัดเงาก็ไม่สามารถเทียบความเงางามของการชุบโครเมี่ยมได้ ซึ่งการชุบโครเมี่ยมกับล้อก็จะเกิดปัญหาว่า ชุบมาแล้วสักพักก็ลอก ลอกออกมาแบบบูด ๆ บ้าง เป็นแผ่นบ้าง ก็เพราะการชุบล้อของร้านนั้น ๆ ยังไม่ได้มาตรฐานดีพอการชุบโครเมี่ยมเค้ามีมาตรฐานในการชุบนะครับ ว่าชุบอย่างไรไม่เกิดปัญหา อย่างเช่นถ้าชุบมาไม่ดี ก็จะมีฟองอากาศเกิดขึ้น ทำให้สานที่เคลือบอยู่บูดขึ้นมา เวลาใช้ไปนาน ๆ (เพราะล้อเกิดการเสียดสีบ่อย ๆและต้องทนความร้อนสูง) ในวงการโฟล์คบ้านเราจึงไม่นิยมการชุบโครเมี่ยมกับล้อมากนัก แต่... ผมกับคุณ toon56 ไปเจอโรงงานชุบโครเมี่ยมมาที่หนึ่งฮะ ชื่อวัฒนกิจการชุบ โรงงานนี้รับชุบแต่แม็กซ์ดี ๆ แพง ๆ ครับ และยังเป็น OEM ในการชุบของแม็กซ์ยี่ห้อ LENSO ด้วยนะ ... พูดถึงคุณภาพ คุณนนท์เจ้าของโรงงานกล้าการันตีผลงานถึง 1 ปีเต็ม แต่จริง ๆ แล้ว ส่วนมากจะยาวกว่านั้นฮะกว่าจะเริ่มเสียหาย ประมาณ 5 ปี เห็นจะได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าของรถด้วยนะ


โรงงานนี้ล่ะครับ อยู่ที่พุทธมณฑลสาย 5 ทางไปลองสอบถามทางโรงงานดูนะครับ

คุณนนท์กะลังเช็คแม็กซ์อยู่ครับ ที่นี่เค้าจะเช็คแม็กซ์ก่อน และบอกเจ้าของให้ทราบว่า เมื่อชุบแล้วจะเป็นอย่างไร ตรงไหนที่ทางโรงงานไม่สามารถแก้ไขพื้นผิวได้ ตรงไหนได้ ก่อนชุบคุณนนท์เล่าว่า ทางโรงงานจะทำขายึดสำหรับแม็กซ์ เฉพาะลายนั้น ๆ เลย ... ใครจะเอา 5 SPOKE ไปชุบ ตอนนี้มีขายึดแล้วนะฮะที่โรงงานนี้ :-)




ผลงานของโรงงานที่ชุบเสร็จแล้ว อันนี้เป็นของลูกค้าเอามาชุบเอง




อันนี้ยี่ห้อ AMG ทางลูกค้าเอามาเองครับ สวยมากขอบอก ... เอาไปใส่ตู้ที่มีน๊อตล้อ 5 รูเล็กได้เลยนะ อิอิ น่าสนใจมากฮะ

คุณนนท์ได้ส่งบทความมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการชุบดังนี้ฮะ
          ในต่างประเทศอย่างเช่นอเมริกา หรือญี่ปุ่นมักจะนิยมใช้ส่วนประกอบที่เคลือบผิวด้วย CHROME ก็มาจากเหตุผลที่ว่าความสวยงาม และความคงทนนั่นเอง ทางบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ เริ่มที่จะนำการเคลือบผิว ด้วยโครมเมี่ยมมาใช้กับกันชน คิ้วกันกระแทก และส่วนต่างๆของรถยนต์รวมไปถึง ชิ้นส่วนที่ทำจากพลาสติกมาประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว ต่อมาเมื่อ 20 ปีก่อน มีการนำอลูมินั่มอัลลอยด์มาหล่อขึ้นรูป เพื่อใช้เป็นล้อรถยนต์ซึ่งมีความนิยมมาก สำหรับผู้บริโภค แต่ต่อมาประสบปัญหาด้าน CORROSSION เพราะในประเทศเมืองหนาวที่มีหิมะ จำเป็นที่จะต้องเอาเกลือ มาช่วยเร่งให้หิมะละลายเร็วขี้น เพราะฉนั้นบนท้องถนนจะเต็มไปด้วยเกลือ ซึ่งส่งผลเสียอย่างมาก กับล้ออลูมินั่มที่เคลือบผิวด้วยสีเพียงอย่างเดียว เพราะเกลือจะทำให้ล้อเป็นสนิมขาว (WHITE RUST) ซึ่งทำให้ล้อผุกร่อนและสูญเสียความสวยงาม เพราะเมื่อผิวของล้ออลูมินั่มเสียไป การยึดเกาะของสีก็เสียไปด้วยสุดท้ายก็คือ สีจะลอกออก ทำให้อายุการใช้งานของล้ออลูมินั่มอัลลอยด์นั้นสั้นลงเพียงแค่ 1 - 2 ปีเท่านั้น

          ต่อมาทางผู้ผลิตรถยนต์ จึงศึกษาและวิจัยหาวิธีการเคลือบผิวบนล้ออลูมินั่มอัลลอยด์ ที่ดีกว่าการเคลือบผิวด้วยสีขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ได้นำเอาเทคโนโลยี การเคลือบผิวด้วยเคมีไฟฟ้าเข้ามาใช้ วิธีดังกล่าวก็คือ การชุบโครเมี่ยม ซึ่งนอกจากจะมีความทนทาน ต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าสีแล้ว สิ่งที่เป็นผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ ความสวยงามและการยึดเกาะระหว่าง ผิวเคลือบ กับผิวของล้ออลูมินั่ม ที่มีพันธะที่แข็งแรงกว่าการเคลือบผิวด้วยวิธีอื่นๆ ด้วยเหตุผลนี้ล้อที่ชุบโครเมี่ยม จึงเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศทั้งอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่าง ๆ อย่างเช่น DAIMLER CHRYSLER, JAGUAR, FORD, LEXUS, FERRARI จึงได้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อใช้ในการผลิตล้อ ชุบโครเมี่ยม สำหรับใช้ในรถยนต์รุ่นต่าง ๆ ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ASTM ใช้สำหรับ บริษัทรถยนต์ที่ผลิตในอเมริกา เช่น FORD MUSTANG

          JIS ใช้เป็นมาตรฐาน ในการผลิตสำหรับรถยนต์ที่ผลิตใน ญี่ปุ่น เช่น LEXUS ES300 DIN ใช้สำหรับรถยนต์ ที่มีต้นกำเนิดจากทางยุโรป เช่น JAGUAR S-TYPE, X-TYPE แต่มาตรฐานต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ก็มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะให้มาตรฐาน ของล้อชุบโครเมี่ยมที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะอธิบายในส่วนของหัวข้อย่อยต่าง ๆ ในการชุบโครเมี่ยม ตามมาตรฐานของ ASTM โดยเปรียบเทียบกับการเคลือบผิวแบบ VACUUM หรือ SPUTTERING (แล้วแต่จะเรียก) ซึ่งพ่นออกมาในลักษณะของสีที่คล้ายกับโครเมี่ยม ซึ่งปัจจุบันจะพบเห็นได้ในท้องตลาดบ้านเรา โดยนำเข้าจาก MALAYSIA และ TAIWAN

การยึดเกาะ (ADHESION TEST)
          ทำไมผิวชุบโครเมี่ยมจึงเกาะบนผิวของล้อได้ดีกว่าการเคลือบผิวด้วยสีหรือ SPUTTERING เพราะก่อนที่จะชุบล้อทุกวง จะถูกขัดผิวจนเรียบ ซึ่งการเคลือบผิวแบบ SPUTTERING จะไม่มีขั้นตอนของการขัดผิว เหตุผลที่ต้องขัดผิวให้เรียบ ก็เพื่อต้องการกำจัดรูพรุน (PITTING) ที่เกิดขึ้นจากขบวนการหล่อ ออกให้หมด เพราะรูพรุนดังกล่าวจะมีอากาศขังอยู่ เมื่อเคลือบผิวปิดทับไปอากาศจะขยายตัวและดันผิวชุบให้เป็นตุ่มพองขึ้นมา เมื่อล้อเกิดความร้อนจากตอนที่รถวิ่งด้วยความเร็ว และจะส่งผลให้ผิวเคลือบลอกออกเป็นแผ่นๆได้ในภายหลัง

          อีกเหตุผลที่ทำให้ผิวชุบโครเมี่ยมยึดเกาะกับผิวล้อได้ดีกว่าการเคลือบแบบ SPUTTERING ก็คือหลังจากที่ขัดผิวแล้ว ก่อนทำการชุบจะมีการกัดผิวล้อให้เป็นรอยแตกเล็ก ๆ (MICROCRACK ETCHING) ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการให้ผิวชุบสามารถฝังตัวเข้า (ANCHORING) ไปในผิวของล้อ และเกิดการยึดเกาะระหว่างผิวชุบ กับผิวของล้อแบบ INTERLOCKING (ถ้าจะให้เห็นภาพก็ลองนึกถึงรากของต้นไม้ ที่ชอนไชลงไปในดิน) ซึ่งกระแสไฟฟ้าเท่านั้น ที่จะช่วยให้เกิดการยึดเกาะในลักษณะนี้ได้ ตามมาตรฐาน ASTM B571 จะกำหนดถึงการทดสอบการยึดเกาะของผิวชุบ โดยการใช้เลื่อยผ่าล้อที่ผ่านการชุบแล้วออกเป็น 2 ซีก ผลที่ผ่านการทดสอบก็คือจะต้องไม่มีผิวชุบลอกออกจากผิวของล้อ ในลักษณะเป็นแผ่นแม้แต่น้อย นั่นหมายความว่า ล้อที่เกิดอุบัติเหตุชนขอบฟุตบาท หรือล้อแตก ผิวชุบก็จะยังคงเกาะแน่น อยู่กับผิวของล้อนั่นเอง อีกวิธีหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบว่า เมื่อล้อได้รับอุณหภูมิสูงๆจากการที่รถวิ่ง ความร้อนจะสามารถทำให้ผิวชุบลอกออกได้หรือไม่ โดยการทดสอบที่เรียกว่า HEAT SHOCK คือ นำล้อที่ชุบโครเมี่ยมแล้ว ไปเผาไฟจนได้อุณหภูมิที่ 120 องศาเซลเซียส แล้วจุ่มน้ำที่อุณหภูมิห้องทันที ผลที่ผ่านการทดสอบ คือจะต้องไม่มีตุ่มพองหรือผิวชุบลอกออกแม้แต่น้อย นั่นหมายความว่าการยึดเกาะของผิวชุบกับผิวของล้อนั้น อยู่ในสภาวะสูญญากาศ



การทนต่อการกัดกร่อน (CORROSION RESISTANCE)
          อาจจะสงสัยว่าทำไมล้ออลูมินั่มที่เคลือบผิวเงาด้วย SPUTTERING ไม่สามารถที่จะทนต่อการกัดกร่อนจากมลภาวะ บนท้องถนนที่เป็น กรด-ด่างได้ เพราะการพ่นไม่มีการจัดเรียงตัวของโมเลกุลที่สม่ำเสมอ จึงเกิดเป็นรูพรุน ที่ตามองไม่เห็นขึ้นมากมายบนชั้นของผิวเคลือบ ทำให้น้ำและอากาศซึมผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยา กับอลูมินั่ม ทำให้เกิดอลูมินั่มออกไซด์ซึ่งจะกัดกินผิวของอลูมินั่มไปเรี่อย ๆ แล้วในที่สุด เมื่อผิวของอลูมินั่มเสียโครงสร้างทางโมเลกุล ก็จะทำให้ผิวเคลือบเงาไม่สามารถจะเกาะอยู่ได้ จึงหลุดลอกออกมา ด้วยสาเหตุนี้การชุบโครเมี่ยมจึงได้เปรียบกว่า เพราะการชุบโครเมี่ยมมีกลไกทางเคมีไฟฟ้าหลายอย่าง ที่ช่วยป้องกันการผุกร่อนอันมาจากสาเหตุนี้ ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ ได้ระบุเอาไว้เป็นส่วนหนึ่งของ มาตรฐานการชุบล้ออลูมินั่ม ในมาตรฐานทั้ง 3 ASTM ซึ่งได้ระบุเอาไว้ดังนี้


 

ความหนาของผิวเคลือบ (THICKNESS TEST)
          ความหนาของผิวชุบเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยในด้านการทนการกัดกร่อน ก็เพราะว่า การชุบโดยใช้กระแสไฟฟ้า จะทำให้การเรียงตัวของโมเลกุลของผิวชุบ เป็นระเบียบและมีความหนาที่สม่ำเสมอ เมื่อชุบจนได้ความหนาตามที่กำหนด จะไม่มีรูพรุนบนผิวชุบที่น้ำ และอากาศจะซึมผ่านเข้าไปได้ง่ายๆ ตามมาตรฐาน ASTM B504 จะกำหนดความหนา เป็นหน่วยของ ไมครอน เช่น 30 ไมครอน หรือ 80 ไมครอน ขึ้นอยู่กับผิวชุบชั้นนั้นๆ การวัดความหนาทำโดยการใช้เครื่อง X-RAY ซึ่งใช้ PROCESSOR ในการควบคุมและประมวลผล เพราะฉนั้นจึงมีความแม่นยำสูง ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (STEP TEST) กลไกการป้องกันการกัดกร่อน ในลักษณะนี้มีเฉพาะ การเคลือบผิวด้วยการชุบโครเมี่ยมเท่านั้น เนื่องจากผิวชุบทั้งหมด 8 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นมีคุณสมบัติทางด้านเคมีไฟฟ้า ซึ่งคุณสมบัตินี้จะมีอยู่ในผิวเคลือบที่เป็นโลหะเท่านั้น วัสดุที่เคลือบด้วยการเคลือบแบบ SPUTTERING ทำมาจากพลาสติกซึ่งแน่นอนว่าไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว กลไกการทำงานของคุณสมบัตินี้คือ ผิวชุบแต่ละชั้น โดยเฉพาะนิเกิลจะมีความต่างศักย์ทางไฟฟ้าอยู่ ซึ่งค่าความต่างศักย์ที่วัดได้นี้จะมีหน่วยเป็นมิลลิโวลท์ เปรียบเสมือนเป็นกำแพง (BARRIER) ที่ปกคลุมอยู่บนผิวล้อ ป้องกันการกัดกร่อนจากภายนอกที่จะเข้าไปทำลายผิวอลูมินั่ม ตามมาตรฐาน ASTM B764 จะกำหนดค่าความต่างศักย์ไว้ที่ 120 mV และ 20 mV (FORD MOTOR SPECIFICATION) การวัดค่าความต่างศักย์ดังกล่าว ทำการวัดโดยใช้ COULOMETRIC METHOD การที่ค่าความต่างศักย์จะสูง หรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมปริมาณของ SULFUR ซึ่งจะต้องมีการควบคุมกันอย่างใกล้ชิดใน PRODUCTION LINE ดังที่กล่าวมาแล้วว่าค่าความหนา และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ส่งผลโดยตรงในการป้องกันการกัดกร่อน เพราะฉนั้นจะต้องมีการทดสอบ เพื่อยืนยันว่าล้อชุบโครเมี่ยมสามารถทนต่อการกัดกร่อนได้จริง วิธีดังกล่าวเรียกว่า CASS TEST ซึ่งเป็นมาตรฐาน ASTM B368 การทดสอบทำโดยนำล้อที่ชุบผิวเสร็จแล้วใส่เข้าตู้ทดสอบซึ่งจะมีสารละลายของ COPPER CHLORIDE และ ACETIC ACID พ่นไปบนผิวของล้อโดยที่มีการควบคุมค่าความดันและ ค่าพีเอชตามที่กำหนดไว้ หลังจากทดสอบไป 66 ชั่วโมง จะต้องไม่มีร่องรอยการกัดกร่อนใด ๆ เลย จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ ผลทดสอบนี้จะยืนยันได้ว่าล้อที่ผ่านการชุบโครมเมี่ยม จะอยู่ในสภาพที่สวยงามนานหลายปี มาตรฐานที่ 66 ชั่วโมงเป็นไปตามข้อกำหนดของ DAIMLER CHRYSLER ,GENERAL MOTOR เป็นต้นลักษณะของผิวชุบ (APPEARANCE ) ด้วยคุณสมบัติของผิวชุบซึ่งเป็นโลหะทั้งหมด จะมีความเงาสุกใส ไม่มีการหมองคล้ำ เพราะผิวชุบของโครเมี่ยมจะไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศจนเกิดออกไซด์ (สนิม) อีกทั้งผิวชุบที่เป็นโลหะมีค่าความแข็งสูง ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายซึ่งต่างจากการเคลือบผิวแบบ SPUTTERING เพราะการเคลือบผิวด้วยวิธีนี้ จะพ่นทับด้วยแล็กเกอร์ (ทำมาจากพลาสติก) ไว้ด้านบนสุดเพื่อปกปิดผิวเคลือบเงาที่พ่นอยู่ด้านล่าง เหตุผลที่ต้องเคลือบแล็กเกอร์ ก็เพราะว่าผิวเคลือบเงาชั้นล่างที่เห็นนั้น ไม่สามารถที่จะสัมผัสกับอากาศได้ เพราะถ้าผิวเคลือบเงาสัมผัสกับอากาศมันจะหมองคล้ำทันทีและหลุดลอกออก ส่วนตัวแล็กเกอร์ โดยปกติแล้วจะเป็นรอยขีดข่วนง่าย จากการล้างรถ หรือสะเก็ดหินบนท้องถนน และไม่สามารถทนต่อรังษียูวีได้ รังษียูวีจากแสงแดดจะทำให้แล็กเกอร์ซีดจาง หมองคล้ำ และสูญเสียการยึดเกาะ เมื่อแล็กเกอร์เป็นรอยขีดข่วน หรือหมองคล้ำ นั่นหมายถึงความเงางามก็จะเสียไปด้วย และถ้าแล็กเกอร์หลุดออกเมื่อไร (อาจจะมาจากสะเก็ดหินบนท้องถนน) ผิวเคลือบเงาชั้นล่างก็จะหมองคล้ำทันทีที่สัมผัสกับอากาศ เพราะฉนั้นการเคลือบผิวแบบ SPUTTERING จึงนิยมมากกับงานที่เอาไว้ตั้งโชว์ภายในที่ร่ม เช่นของเล่น หรือเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เพราะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก จากที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด กระบวนการชุบโครเมี่ยม จะช่วยป้องกันผิวของล้อได้ 2 ทิศทางคือ การป้องกันมิให้อากาศที่อยู่ใต้ผิวชุบดันตัวออกมา (INSIDE OUT PROTECTION) เพราะอยู่ในสถานะสูญญากาศ และป้องกันมิให้มลภาวะจากภายนอก เข้าไปทำลายผิวของล้อได้ (OUTSIDE IN PROTECTION) สำหรับชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่บริษัทรถยนต์นำมาชุบโครเมี่ยม เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของรถยนต์ ก็จะมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับมาตรฐานด้านการชุบ ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าชิ้นส่วนนั้นๆใช้งานอยู่ตรงส่วนไหนของรถ ยนต์ เช่น กรอบไมล์ที่มาตรวัดหรือมือเปิดประตู อาจจะกำหนดค่าความหนา ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือ การทนต่อการกัดกร่อนที่น้อยกว่าล้ออลูมินั่ม เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ภายใน แต่สำหรับกันชนหรือหน้ากระจังของรถที่ชุบโครเมี่ยม ก็จะมีมาตรฐานที่สูงขึ้นมา เพราะต้องทนต่อมลภาวะภายนอกรถให้ได้ สำหรับมาตรฐานที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สำคัญเท่านั้น ยังมีมาตรฐานอีกหลายข้อที่ ASTM หรือ JIS ได้กำหนดเอาไว้และมีส่วนช่วยในเรื่องความสวยงาม และความคงทนของล้อโครเมี่ยม เช่น DUCTILITY ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ควบคุมเรื่อง ความยืดหยุ่นของผิวชุบ เมื่อได้รับแรงกระแทกในขณะที่รถวิ่ง หรือ MICRO POROSITY ซึ่งเป็นมาตรฐานช่วยสนับสนุนคุณสมบัติ ด้านการทนกัดกร่อนของล้อชุบโครเมี่ยม"

          หลัง จากที่ได้ชุบมาแล้วก็สรุปได้ว่า งานชุบคุณนนท์ดีจริงฮะ เงาแว้บเลย ที่สำคัญ ทางโรงงานรับประกันด้วยนะว่าจะไม่ลอกในระยะประกันแน่นอน ท่าอยากดูผลงาน สามารถดูได้ที่ล้อ 5 SPOKE ของคุณ ตูน56 ได้เสมอครับ ถ้าไม่พอใจก็เอาหมามาฉี่เทสดูได้ ไม่มีลอก ไม่มีร่อน อิอิ

 


ขอขอบวัฒนกิจการชุบ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
สามารถติดต่อเรื่องชุบได้ที่ 0-2420-0784