Print
Category: Knowledge
Hits: 3364

          สวัสดีครับ  วันนี้จะมาว่ากันถึงเรื่องรถตู้ Type 2 หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า  โฟลค์ตู้หน้าวี  ในส่วนต่างประเทศ ก็เรียกกันแตกต่างกันออกไปหลายชื่อ  เช่น  Split  window ; Split winshield; Split  screen; Van  Type2  ในบ้านเราบางท่านก็เรียกว่า รถตู้หัวรถไฟ รถตู้หน้ากางเกงใน (เรียกซ๊ะหมดหล่อ)

          รถ ตู้หน้าวี เริ่มผลิตออกมาแบบเป็นจริงเป็นจัง ตั้งแต่ปี 1949 ไปสุดปีสุดท้ายที่ปี 1967  ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่ว ๆ ไป ว่าสเปคที่ผลิตออกมาจากเยอรมัน นั้นจบที่ปี 1967 แต่ทว่าในบางประเทศ เช่น South Afarica หรือ Brazil ยังมีรถหน้าวีผลิตไปถึงปี  1975  (ซึ่งอันนี้ผมไม่มีข้อมูล แน่ชัดถึงปีสุดท้ายจริง ๆ ที่ยังมีการผลิตออกมา  อันนี้ข้อมูลได้มาจากรถที่มีออกมาขายในเวลานี้ ในเวปยอดฮิต ปีใหม่สุดที่เคยเห็นคือปี 1975  แต่ไม่คิดว่าเป็นรถที่ผลิต ออกมาจากโรงงานในเยอรมันน่ะครับ คาดว่าจะผลิตจากชิ้นส่วน ที่มีหลงเหลือในโรงงานประกอบของประเทศนั้น ๆ  อันนี้ผิดถูกอย่างไร ต้องขออภัยไว้ด้วยครับ เพราะผมเองก็ไม่มีข้อมูล ใช้วิธิวิเคราะห์เอานะครับ)
       

หน้าวี่แบ่งเป็น Generation ใหญ่ๆได้สองรุ่นครับ
คือรุ่น 1949-Early 1955 ซึ่งมีชื่อเรียกกันเป็นสากลว่า รุ่น Barndoor  ซึ่งเป็นรุ่นที่ หลงเหลืออยู่ไม่มากนักในปัจจุบันนี้
จุดสังเกตุของรุ่น  บานดอร์คือ  ประตูท้ายเครื่องมีขนาดใหญ่กว่ารุ่น ปี 55-67

 

 

ด้านหน้า หลังคาจะไม่มี กันสาด ไม่มีช่องดักแอร์เข้าภายในรถ

 

 

52 Panel Barndoor Bus

 

54 Single Cab Barndoor

 

กันชนของบานดอจะเป็นแบบ กันชนปั๊ม

 

 

ด้านในของ รถรุ่น Barndoor Dash Board จะแตกต่างจากรุ่น หลังปี 55-67
รุ่น Barndoor พวงมาลัยก็แตกต่างจากรุ่นปี 55-67 ซึ่งบานดอจะเป็นรุ่น 3 ก้าน
นอกจากนี้ รุ่น บานดอร์แสตนดารด์ ก็มีแผง Dash Board ที่แตกต่างไปจากรุ่น Deluxe คือมีแผงหน้าปัทม์เดี่ยว

สัง เกตุตามรูป มาตรวัดความเร็วจะเป็นแบบย้อน คือเข็มจะวิ่งจากขวา มาซ้าย ปุ่มยกเลี้ยวจะไม่มี อาศัยการบิดของปุ่มด้านข้างมาตรความเร็ว กุญแจทำหน้าที่แค่เปิดระบบไฟ ส่วนปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ จะอยู่ด้านข้าง

 

 

          ภาพนี้เป็น Dash Board ของรุ่น Deluxe Barndoor ครับ จะเป็นแผงเต็ม มีช่องใส่ นาฬิกาและวิทยุ นอกเหนือจากเรือนไมล์ (วิทยุเป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งต้องซื้อเพิ่มเติมในตอนนั้น)

          พวงมาลัยเป็นแบบ 3 ก้านเหมือนรุ่นธรรมดา แตกต่างกันตรงสีของ Deluxe จะเป็นสีงาช้าง... พวงมาลัยแบบ 3 ก้านของบานดอจะมี 2 รุ่น คือรุ่นที่คอเป็นเกลียว 1949 - 1951 กับรุ่นที่เป็นแบบ chruch หรือแบบลิ่ม 1952 - 1955

 

รุ่นที่ 2 Late 1955-1967
ซี่งเป็นรุ่นที่เราเห็นกันทั่ว ๆไป ที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่พอสมควรในปัจจุบัน

สำหรับในรุ่นที่ 2 นี้ยังแตกออกไปได้เป็น 2 แบบย่อย
คือ 1955-1963 จะเป็นรุ่น จอหลังแคบ ประตูห้องเครื่องจะเล็กกว่าของรุ่นแรกเยอะครับ รุ่นจอหลังแคบ ประตูห้องเครื่องเล็ก นั้นจะเริ่มที่ปี 55- 63 รุ่นนี้ จะมีลักษณะสังเกตุหลายอย่างเช่น ในปี 55-58 จะได้กันชนแบน หรือกันชนปั๊ม ไฟท้ายเล๊ก ไฟเลี้ยวหน้าแบบ Bullet

สองภาพนี้เป็นรุ่นปี 1956 สังเกตุได้จากไฟท้าย ฝาห้องเครื่องแบบเรียบ และมีไฟเบรคฝังอยู่ด้านบน ซึ่งจะมีในปี 1955-1957 กันชนแบนหรือปั๊มแบบนี่จะเริ่มมีมาตั้งแต่รุ่น บานดอร์ ไปสิ้นสุดที่ปี 1958

 

          ในภาพนี้คือ ปี 1958 สังเกตุได้จากไฟท้ายอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าใน รุ่นปี 59-61 และเป็นปีเดียวที่ได้ ฝาห้องเครื่องแบบเรียบ คือไม่มีสันนูนตรงไฟส่องทะเบียนท้าย และไม่มีไฟเบรคฝังอยู่ด้านบนครับ

 

          รุ่น จอแคบนั้น จะเริ่มเปลี่ยนไปใช้กันชนรุ่น ใหม่ในปี 1959 และไฟท้ายกลมเล็กที่เลื่อนลงมาในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิม ไฟท้ายกลมเล็กก็ใช้ไปจนถึงปี 1961

ภาพนี้คือรุ่น จอแคบ - กันชนรุ่นใหม่ ซี่งเป็นรุ่นระหว่างปี 1959-1961 สังเกตุ ฝา้ท้าย (ฝรั่งเรียก decklid) จะมีสันนูนขึ้นมาตรงไฟส่องทะเบียนท้าย ซึ่งเป็นฝาท้ายแบบใหม่

 

 

ภาพนี้เป็นจอแคบปี 63 ไฟท้ายจะเปลี่ยนเป็นแบบ แคปซูลแล๊ว กันชนรุ่นนี้เริ่มต้นที่ปี 1959

และรุ่น 1964 -1967 จอหลังกว้าง (ในรูปกระจกหลังแบบเปิดได้ เป็นของ aftermarket คือแบบที่ทำมาทีหลัง ไม่ได้ทำมาจากโรงงานโฟล์คสวาเก้น

 

 

หน้าวีแบ่งเป็นรุ่นๆ ได้ดังนี้
          1 . รุ่น deluxe bus
แบ่งเป็น 13,15,21,23 window รุ่นดีลักซ์ จะมีข้อแตกต่างสังเกตุได้โดยจุดแรกจะมีหน้าต่าง สี่บานหลังจากประตูหน้าไปด้านข้างจะมีสี่บาน แต่หากในรุ่นก่อนปี 64 จะมีกระจกมุมหลังด้วย corner window   จุดสังเกตุต่อมาคือจะมีชิ้นส่วนที่เป็นโครเมี่ยม เช่นโลโก้หน้า มือเปิดประตูด้านใน นอกนี้รถดีลักซ์จะมีคิ้วอลูมิเนียม รอบคันและที่กันชนมีบาร์อลูมิเนียมรอบกระจกข้างบานสุดท้าย และประตูแฮทช์หลัง มีบาร์อลูมิเนียมที่เบาะท้าย

รุ่น 13 Windows จะมีหน้าต่างด้านข้างๆละ 4 บาน เริ่มผลิตในปี 1964-196?

 

รุ่น 15 Windows จะมีหน้าต่างด้านข้าง ข้างละ 4 บานและมีกระจกมุมท้าย รุ่นนี้มีถึงปี 1963 เป็นปีสุดท้าย

21 Windows จะคล้ายรุ่น 13 หน้าต่าง ทุกอย่าง แต่จะมีหน้าต่างเพิ่ม บนหลังคาอีก 8 ช่อง และมี Rag top ขนาดใหญ่ บนหลังคา (3 ทบ)

 

รุ่น 23 Windows จะคล้ายรุ่น 15 หน้าต่าง ทุกอย่าง แต่จะมีหน้าต่างเพิ่ม บนหลังคาอีก 8 ช่อง และมี Rag top ขนาดใหญ่ บนหลังคา ถือว่าเป็นรุ่นที่หายาก และ ราคาสูงมากในขณะนี้ นับความหายากก็รองลงมาจากรุ่น บานดอร์ เลยทีเดียว ปี 1963 เป็นปีสุดท้ายที่ผลิต

 

2. panel bus, double door panel bus
รุ่น panel bus จะเป็นรุ่นตู้ทึบไม่เจาะหน้าต่าง จะมีสองรุ่นคือรุ่นประตูห้องบรรทุกมีด้านเดียว และรุ่นประตูห้องบรรทุกมีสองด้าน เรียกกันว่าDouble door panel

รูปล่างนี้เป็นหน้าวีปี 1958 (PANEL BUS)

 

3 standard, combi bus
          รุ่นสแตนดาร์ด จะมีหน้าต่างเหลี่ยมด้านข้างแค่สามบาน ไม่มีคิ้วมีเนียม ที่เห็นมี ๆ ในรุ่นนี้เจาะใส่กันเองนั่น เพราะเจาะใส่กันเองน๊ะครับ โลโก้หน้าเป็นสี ตามแต่ว่ารถจะได้สีอะไร

          Kombi และ standard จะเหมือนกันหากดูจากภายนอก แต่ combi หรือ kombi จะแตกต่างที่ภายในครับ คือจะไม่มีแผงผนังด้านข้างใน แผงผนังประตูหรือที่เรียกว่า door panel อาจจะมีเบาะหลังหรือไม่มีเบาะหลัง เหตุผลคือใช้เป็นรถที่ทำมา เป็นแบบกึ่ง ๆ สำหรับขนส่งเหมือนรถตู้ทึบ แต่สามารถแปลงให้เป็นรถโดยสาร ได้เหมือนรุ่น standard

          โดย มากรถ kombi มักเป็นสีเดียวตลอดคัน ไม่ทำสี two tone เหมือนรถstandard ส่วน walk through คือศัพท์ที่เรียกเบาะหน้า ซึ่งแยกกลาง สามารถเดินทะลุผ่านมาที่ห้องโดยสารหลัง จะเป็นเบาะแยก ธรรมดาทั่วไปที่เรามักเห็นกันในบ้านเรา มักจะเป็นรุ่นเบาะหน้าเต็ม ยางอะไหล่อยู่หลังเบาะ เรียกกันว่า Bench Seat ซึ่งจะนั่งได้ถึง 3 คน แต่รุ่น walk through นั่งได้เพียง 2 คน

 

Standard Bus ส่วนใหญ่ จะเป็น two tone คือ 2 สี บน-ล่าง

 

Combi bus จะเป็นสีล้วน คือมีสีเดียว

4. single cab truck
single cab นี่เป็นกระบะตอนเดียวไม่มีแคปด้านข้างใต้กระบะ จะมีช่องเก็บของเสริม

 

5 double or crew cab truck crew cab รถต้นแบบผลิตในปี 1957 โดยดัดแปลงมาจากsingle cab เรียกว่า binz crew cab

ต่อมาในปี 1959 จึงผลิตออกมาเป็น crew cab แบบเต็มตัว โดยโรงงานโฟล์คสวาเก้นเอง
ภาพ นี้คือ BINZ CREW CAB

 

63 CREW CAB
กระจกหน้าแบบเปิดได้เรียกว่า ซาฟารี ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม ต้องสั่งพิเศษจากโรงงาน (ปัจจุบัน สามารถมาติดตั้งเพิ่มเองได้ เนื่องจากมีผู้ผลิตทำออกมาขายกันเยอะพอควร)

 

61 CREW CAB

 

 

6. camper bus
camper bus จะมีอุปกรณ์ภายในสำหรับนักท่องเที่ยวกินนอนในรถ มีเตียงมีเต้นท์ มีโต๊ะ มีเตา

 

7. special model : bus fire truck, ladder truck, dump truck, ambulance, hi top - etc. หน้าวีแบบพิเศษนี้ จะเป็นประเภทพิเศษ ทำมาสำหรับงานเฉพาะด้าน เรียกว่า typ28 ซึ่งหายากสุด ๆ สำหรับหน้าวีแบบนี้

 

 

เรื่องรายละเอียดเล็กน้อยๆของหน้าวีในแต่ละรุ่นครับ
เริ่มด้วย ล้อแล้วกัน หน้าวี ปี 1949-55 บานดอร์ ใช้ล้อขนาด 16 นิ้ว

 

ปี 1955 เริ่มใช้ขนาด 15 นิ้วไปจนถึงปี 1962 ฝรั่งเรียก craw feet

 

หน้าวีเมื่อใส่ล้อขอบ 15

 

รุ่นปี1963 เริ่มใช้ขนาด 14 นิ้วเรื่อยไปจนถึงปี 1970 ครับ โดยเป็นแบบ 5 รู 205 มม.

ระยะห่างระหว่างน๊อตล้อแบบ 5 รู 205 มม. นี้ ใช้กับตู้มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1949-197

 

ข้อแตกต่างระหว่าง ซุ้มล้อหน้า รุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ๆ ให้สังเกตุตรงล้อหน้าซุ้มล้อหน้า
รุ่นเก่า 1950 - 1962 จะมีความหนามากกว่ารุ่นใหม่ 1963 - 1967

ภาพนี้คือ ซุ้มล้อหน้าของปี 50 - 62

 

จะเห็นได้อย่างชัดเจนครับ ว่าของปี 62-67 จะมีความหนาน้อยกว่าของรุ่น ปี 55-61 และนี่คือ ซุ้มของปี 63-67

 

นอกจากนี้แล้ว ซุ้มล้อหลังก็มีความแตกต่างเช่นเดียวกันครับ โดยรถในระหว่างปี 50-62 จะเป็นซุ้มเรียบ FLAT ไม่มี สันเช่นปี 63-67

ภาพนี้เป็นซุ้มหลัง เรียบของรุ่น 50-62 คันนี้เป็นรุ่นบานดอร์

 

ภาพนี้เป็นรุ่นหลังมีสันของปี 63-67

 

ช่องลมท้าย ก็มีความแตกต่างกัน
โดยของบานดอร์จะมี 8 ครีบ ครีบยื่นออกมาด้านนอกตัวรถ 1950-1955

รุ่นปี 1955-1963.5 จะมี 9 ครีบ ครีบยังยืนออกด้านนอกเช่นเดียวกัน โดยในรุ่นดีัลักซ์จะได้ออฟชั่นเป็นชิ้นอลูมิเนียม เป็นคิ้วเพิ่มขึ้นจากรุ่นธรรมดา

สำหรับรุ่นปี 1963.5 นั้นช่องลมจะเปลียนเป็นครีบหันเข้าแทนที่จะหันออกแบบรุ่น ก่อนหน้านี้ ตามแบบในรูปครับ