BEETLE (KAFER)
ผลิต 1 AUG 1962 - 30 JUL 1963
Chassis 4846836 ถึง 5677118



          ปี 63 นับว่าเป็นปีที่น่าเล่นปีหนึ่ง ด้วยความคลาสสิกหลายอย่างเช่น ไฟส่องป้ายทะเบียนแบบจมูกแม่มด ก็มาสิ้นสุดที่ปีนี้ หลังคาถลก ไฟเลี้ยวแบบถั่ว และที่สำคัญเต่าปี 63 เป็นรุ่นทางวอลท์ดิสนีย์ได้เอามา แสดงเรื่อง Love Bug จนโด่งดังไปทั่วโลก มาดูกันฮะว่า ปี 63 มีอะไรกันบ้าง

 

          ปี 63 เป็นปีสุดท้ายของไฟเลี้ยว "ถั่ว" พอปี 64 ก็จะเปลี่ยนเป็นไฟเลี้ยวที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สเปคอเมริกาไฟหน้าจะเป็นแบบไม่มีลาย และจะฝัง Seal beam ไว้ด้านใน ในขณะที่สเป็คยุโรปจะเป็นเสนส์แบบมีลายและเป็นโคมฉาย

          กันชนถ้าเป็นสเปคยุโรปจะเป็นแบบหงอนเล็ก ถ้าเป็นสเปคอเมริกาจะเป็นแบบรั้ว ไฟด้านหลังสเปคอเมริกาจะเป็นสีแดงล้วน สเปคยุโรปจะเป็นสีแดงสลับส้ม สังเกตุว่าไฟส่องป้ายทะเบียนหลังจะเป็นแบบจมูกแม่มด ซึ่งปี 63 เป็นปีสุดท้ายของไฟส่องป้ายทะเบียนแบบนี้ พอปี 64 ก็จะเปลี่ยนเป็นแบบจมูกบาน (ผมเรียกเองนะ) และฝากระโปรงหลังระหว่าปี 63 กับ ปี 64 ก็แตกต่างกันเล็กน้อย ดูในรูปด้านข้าง "จมูกแม่มด" จะมีสันเลยยาวมาด้านล่าง แต่ของปี 64 จะมาสุดที่ไฟส่องป้ายทะเบียน ไม่ได้ยาวเลยมาด้านล่างเหมือนของ 63

          ด้านหน้าปีนี้จะเป็นปีแรกที่ไม่มีโลโก้บนฝากระโปรง (ซึ่งผมว่ามีสวยกว่านะ) และคิ้วบนฝากระโปรงจะยาวกว่าปี 62 แต่ความกว้างเท่ากัน


          คิ้วด้านข้างตัวรถ คิ้วบันไดจะเป็นคิ้วใหญ่ ...คิ้วแบบเดิมจากโรงงานจะทำมาจากอลูมิเนียม ด้านหลังของหูช้างด้านหน้า จะเป็นเสาตรง เสาตรงนี้จะใช้ไปจนปี 64 แล้วเปลี่ยนเป็นเสาเอนตอนปี 65 


          ยางอะหลั่ยสามารถวางไว้ด้านหน้าได้ และบางคันได้ติดอุปกรณ์เสริมเพื่อเอาลมจากยางอะหลั่ยเป็นแรงดันให้กับที่ฉีด น้ำฝน กล่าวคือเจ้ากระติกเก็บน้ำสำหรับฉีดกระจกนี้ต้องเติมลม (จะมีจุ้บยางเพื่อเติมลมที่ตัวกระติก) เข้าไปเพื่อเป็นแรงดันให้น้ำพุ่งไปสู่กระจกได้ เวลาลมหมดก็ต้องเติมใส่กระติกใหม่อีกครั้ง แต่อุปกรณ์เสริมตัวนี้ จะเป็นอะแด็ปเตอร์เสียบไปที่ จุ้บยางอะหลั่ยแทน ลมจากยางอะหลั่ยก็จะไหลเข้ากระติกเก็บน้ำนี้ ทำให้ไม่ต้องเติมลมอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ไม่ทำให้ลมยางอะหลั่ยหมดนะครับ เมื่อลมในยางอะหลั่ยเริ่มน้อย เจ้าอะแด็ปเตอร์นี้ก็จะตัด ไม่ให้ใช้ลมจากยางอะหลั่ยอีกต่อไป ฉลาดเนอะ...

ขอขอบคุณพี่เอ้ อยุธ ที่ท้วงติงมาเรื่อง ลมจากยางอะหลั่ยนี้นะครับ :-)  

          เปิดยางอะหลั่ยออกมาจะมีที่เก็บน้ำสำหรับฉีดกระจก ด้านหน้าแบบนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 62 กระปุกด้านข้างที่เก็บน้ำคือกระปุกน้ำมันเบรค ถังน้ำมันถูกออกแบบให้แบนขึ้นกว่าเดิม เพื่อจะได้มีเนื้อที่เก็บของมากขึ้น ฝาถังน้ำมันจะเล็กกว่าของปี 60 ในรูปด้านซ้ายจะเป็นที่เก็บแม่แรง (ว่าแต่รถรกจังเนอะ รถใครหว่า)

 


ด้านล่างที่เก็บน้ำจะเป็น Plate ที่บอกคุณลักษณะของรถ ... ผมจะอธิบายความหมายของ Plate ในแต่ละแบบในคราวต่อไป

  


ที่ฉีดน้ำฝนจะเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 61 จุดยึดที่ปัดน้ำฝนจะเยื้องจากศูนย์กลางมาด้านขวาเล็กน้อย เพื่อให้ใบปัดอยู่พอดีกับกระจกตอนที่ไม่ได้ใช้งาน

 


ที่เปิดประตูแบบกด จะใช้มาตั้งแต่ปี 60 ไปจนถึงปี 66 ด้านคนขับจะมีรูให้เสียบกุญแจ แต่ด้านคนนั่งจะไม่มี  

          หน้าปัทม์ปี 63 จะเป็นแบบนี้ โดยของเดิมจากโรงงานจะไม่มีวิทยุติดมา จะเป็นคิ้วยาวไปจรดกับที่วัดระดับน้ำมัน พวงมาลัยจะเป็นแบบกระเช้า เข็มที่วัดความเร็วจะเป็นสีขาวงาช้าง เลขกิโลเมตรจะไปสุดที่ 140 ด้ามเกียร์จะเป็นแท่งตรง ที่วัดระดับน้ำมันจะเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน มาตั้งแต่ปี 62 ปุ่มต่าง ๆ จะเป็นสีงาช้างทั้งหมด ฝรั่งเรียก Ivory knob ... ในรูปบนพวงมาลัยที่ห้อยอยู่และแอร์เป็นอุปกรณ์เสริม :-)

 


ด้านคนนั่งจะมีที่จับ ซึ่งจะอยู่เหนือเก๊ะด้านบน ที่จับนี้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในปี 1961  



คันเร่งจะใช้แบบนี้มาตั้งแต่ปี 58 และจะไปเปลี่ยนอีกทีตอนปี 67


 
ลายแผงประตูแบบเดิมจากโรงงานจะเป็นแบบนี้ ผมได้ลอกลายเอาไว้แล้ว หากเพื่อน ๆ ต้องการลายแผงข้างนี้ ให้เมลล์มาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 


ที่พักแขนด้านคนนั่งจะเป็นแบบนี้ สังเกตุจะมีคิ้วอลูมิเนียมคาดอยู่ด้วย


 
ตรงเสาประตูจะมีหมุดกากบาท ซึ่งทำหน้าที่ปิดรูสำหรับใส่เข็มขัดนิรภัย หมุดกากบาทนี้เริ่มใช้ปี 62 เป็นปีแรก ... ด้านหลังคนขับจะมีที่เขี่ยบุหรี่
 


ด้านบนของเสาประตูจะมีสายสำหรับให้ผู้โดยสารด้านหลังจับเพื่อดึงตัวขึ้นและ ออกจากรถ ... งงมั้ยเนี่ย ... เอาเป็นว่ามันไว้สำหรับคนนั่งหลังจับแล้วกัน ใครไม่เคยนั่งเต่าด้านหลังไม่รู้หรอกว่าสายนี้เอาไว้ทำอะไร :-) 



ที่ปิดที่เก็บของด้านหลัง จะมีปุ่มงาช้างไว้สำหรับยึดปิด - เปิด ตัวแผงปิดจะถูกปั้มลายตาราง ทุกจุดตัดจะมีหมุดสีเงินปักไว้ 



ที่ล้อคหูช้างหลังจะเป็นทรงเตี้ย และหูช้างหลังแบบเปิดได้นี้จะใช้ตั้งแต่ปี 62 (เจ้าหูช้างหลังนี้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานปี 62) จนปี 64 สำหรับเต่าในเขตร้อน ซึ่งในยุโรป และอเมริกาไม่มีนะครับ :-) ...ต่อมาในปี 65 หูช้างหลังจะใหญ่ขึ้น จุดยึดจะเปลี่ยนไปยึดที่กระจกเลย ไม่ใช่ยึดที่ของเหมือนรุ่นนี้ ในรูปจะมีหมุดกากบาทที่ปิดรูยึดเข็มขัดนิรภัยด้านหลัง ซึ่งหมุดนี้ในรถเต่าแบบนี้ 1 คันจะมี 8 อัน 



เครื่องเดิมที่ติดมากับรถจะเป็นเครื่อง 1200cc คาบูเร็ทเตอร์จะเป็นเบอร์ 28


 
ที่หมุน ragtop จะเป็นแบบนี้ ซึ่งปี 63 จะเป็นปีเดียวที่ใช้ตัวหมุนแบบนี้ 



กระจกมองหลังของปี 63 ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 60  



ที่บังแดดจะเล็กมากฮะ และแกนของอันขวาจะสั้นกว่าแกนของอันซ้าย เพราะจะต้องหลบความกว้างของกระจกมองหลัง

 


มือหมุนกระจก และมือเปิดประตูก็จะเป็นแบบนี้  



เบรคมือจะเป็นด้ามเรียวยาว และปุ่มปลดล๊อคเบรคมือจะเป็นสีงาช้าง 



คู่มือที่ติดมากับรถจะเป็นแบบนี้ ในรูปค่อนข้างทรุดโทรมมากฮะ กว่าจะผ่านมาถึงผม ก็ผ่านมาหลายมือแล้ว แต่ยังดีที่เจ้าของเก่าไม่ทิ้ง :-)